วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

วิจัย

สรุปงานวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ปริญญานิพนธ์ ของ เชวง     ซ้อนบุญ
เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2554


ความมุ่งหมายของงานวิจัย
          1.เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          4.เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้ในสภาพจริง

ขอบเขตของการวิจัย
          1. กลุ่มนักเรียน ชาย หญิงอายุ 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี
          2. ครูปฐมวัยที่สอนนักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี

ตัวแปรที่ศึกษา
          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการเปรียบเทียบ การจัดประเภท การจับคู่ การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวน การวัด และการบอกตำแหน่ง


⧭ สรุปผลการวิจัย ⧭
          
            รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดย รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C มีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการ คือ
  • การกระตุ้นความสนใจ ( Motivation )
  • การเรียนรู้แบบปฏิบัติการ ( Active Learning )
  • การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of learning ) 
  • การผสานเป้นหนึ่งเดียวของศีรษะคือสมอง หัวใจ และมือ ( Head Heart Hands )
  • การเล่นสร้างสรรค์ ( Constructive Play )
  • การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ ( Constructive Learning )
  • การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Learning )
  • และประกอบด้วยกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4 ขั้น คือ      
ขั้นที่ 1 : การกระตุ้นใคร่รู้
ขั้นที่ 2 : การตัดสินใจเลือเล่น
ขั้นที่ 3 : การเล่น
ขั้นที่ 4 : การนำเสนอผลงาน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น