วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รูปแบบการสอน

สรุปรูปแบบการสอน
การสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด BBLสำหรับเด็กอนุบาล

คลิปจาก : สถานีโทรทัศน์การศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC Channal
ที่มา : obectv  



〰 สรุป 〰

          สมองของเด็กอนุบาลจะมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสมองที่มีความกระตือรือร้น มีแรงจูงใจอย่างสูงที่จะเรียนรู้ แต่เด็กจะไม่สามารถใช้เหตุผลและการคิดแบบซับซ้อน แต่จะต้องเรียนรู้ผ่านของจริง และจากประสบการณ์โดยตรงของเด็ก
          ดังนั้น การสอนแบบ BBL จึงควรใช้การสัมผัสของจริงเป็นหัวใจสำคัญ  
          แนวคิด Brain Based Learning จะใช้การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ระบบสัมผัสและใช้ระบบเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
          เทคนิคที่จะทำให้การสอนคณิตศาสตร์มีความน่าสนใจและเกิดประสิทธิผล คือการสอนควรเป็นไปตามธรรมชาติของสมอง 3 ขั้นตอน คือ
  • สมองจะรับข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ส่งข้อมูลไปประมวลผลในสมองส่วนหน้า หรือบูรณาการข้อมูล
  • และจะส่งสัญญาณไปในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิบัติการตอบโต้ และแสดงพฤติกรรมออกมา
⇝ ในวัยอนุบาลจะต้องเรียนรู้ในเรื่องที่สำคัญ คือ
  • การนับ
  • การจำแนก
  • การจัดกลุ่ม




วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่13





วันที่ 24 เมษายน 2562


           วันนี้เป็นการเรียนการสอนคาบสุดท้ายของรายวิชาการจัดประสบการณืทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้มีการพูดถึงมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ 2560 ที่ได้ทำแผนผังความคิดกันไปเมื่อคาบก่อนหน้า และอาจารย์ได้แจกแผนผังความคิดที่เราได้ทำกันไปคืน 
          และจากนั้นก็ได้ได้แจกกระดาษเปล่าให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทำแผนผังความคิด โดยเขียนเป็นแนวนอน เริ่มจากแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน ตรงกลางเขียนหัวข้อ โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเป็น หน่วยไข่ จากนั้นก็แยกหัวข้อย่อยออกเป็น เช่น
  • ชื่อ แบ่งย่อยออกเป็น ไข่นก ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เต่า เป็นต้น
  • ลักษณะ เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด พื้นผิว รสชาติ
  • ที่มา เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • ประโยชน์ เป็นต้น



          โดยการแบ่งหัวข้อย่อยออกมาจะเป็นการทำให้เราเห็นภาพเนื้อหาโดยรวมได้ชัดเจนขึ้น โดยสาระจะนำมาจาก หลักสูตร มีตัวสำคัญ คือ สาระที่ควรเรียนรู้ และประสบการณ์สำคัญ
สาระที่ควรเรียนรู้แบ่งได้ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. ตัวฉัน
  2. บุคคลและสถานที่
  3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
  4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
        จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำแผนผังความคิดอีก 1 หัวข้อ โดยตั้งหัวข้อ คือ หน่วยนก
การเขียนแผนผังความคิดจะต้องเขียนให้อ่านง่าย ไม่ตีลังกาอ่าน และจะต้องจัดวางให้อยู่กึ่งกลางให้ดูสวยงาม







          




〰 ความรู้ที่ได้รับ 〰
1.รู้การทำแผนผังความคิด เทคนิกการทำต่างๆ


〰 คำศัพท์ 〰

1. Bird นก
2.Brochures แผ่นพับ
3.Sign เครื่องหมาย
4.Symbol สัญลักษณ์
5.Step ขั้นตอน




☺☺☺☺☺☺☺☺




             ก่อนจะปิดคลาสอาจารย์ได้สั่งงานให้ทำแผ่นพับสำหรับแจ้งความรู้และขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง โดยให้ส่งผ่าน Blog 

⧭ แผ่นพับ ⧭








❤❤ ปิดคอร์ส ❤❤








วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่12



วันที่ 19 เมษายน 2562

          วันนี้มีการเรียนรวมทั้ง 2 กลุ่มเรียน โดยอาจารย์ได้ให้สรุปความรู้ในเรื่องของ คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 2560 โดยทำสรุปในรูปแบบของ Mind Mapping เพื่อให้นักศึกษาได้อ่านและทำความเข้าใจ
โดยอ้างอิงจาก : กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย

⧫ ภาพผลงาน 









☺ ภาพบรรยากาศระหว่างเรียน ☺






〰 ความรู้ที่ได้รับ 〰
1. ได้อ่านทบทวนเนื้อหาความรู้ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์
2. ได้ฝึกกระบวนการการคิดอย่างเป็นระบบ



〰 คำศัพท์ 〰
1.Standard มาตรฐาน
2.Mind Mapping แผนผังความคิด
3.Thinking การคิด
4.Algebra พีชคณิต
5.Indicators ตัวชี้วัด







วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่11

วันที่ 3 เมษายน 2562


                    
             ก่อนเริ่มเรียนอาจารย์มีการครวจสอบ Blogger ของแต่ละคนว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว และอาจารย์ก็ได้มีการแนะนำเพิ่มเติมว่าบล็อกของแต่ละคนมีข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุงตรงไหน อย่างไรบ้าง เพื่อที่นักศึกษาจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข








           วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มส่งงานกลุ่มสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแต่ละกลุ่มจะต้องออกไปพรีเซนต์ชิ้นงานของตนเอง ว่าเป็นสื่อเกี่ยวกับอะไร ใช้งานอย่างไร มีวิธีการเล่นอย่างไร และอาจารย์จะมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อชิ้นนั้นๆ

☺ ภาพประกอบการนำเสนองาน☺





















บันทึกการเรียนครั้งที่10


วันที่ 27 มีนาคม 2562




 ❌  ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกการเรียนครั้งที่9


วันที่ 20 มีนาคม 2562

          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของชิ้นงาน โดยตรวจทีละกลุ่ม และมีการแนะนำ ชิ้นงานแต่ละชิ้นว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหน อย่างไรบ้าง



          หลังจากนั้นอาจารย์ได้นำตัวอย่างสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของรุ่นพี่มาให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่าง และมาวิเคราะห์สื่อแต่ละชิ้นว่าจะสามารถนำสื่อไปสอนได้อย่างไรบ้าง และจะมีวิธีการเล่นอย่างไร สามารถนำสื่อไปประยุกต์ใช้ในการสอนแบบอื่นได้อย่างไรบ้าง














〰 ความรู้ที่ได้รับ 〰
ได้รับวิธีการสร้างสื่อ ผลิตสื่อที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย และประหยัด


〰 คำศัพท์ 〰
1.Toy ของเล่น
2.Present นำเสนอ
3.Portfolio ผลงาน
4.Number ตัวเลข
5.Dice ลูกเต๋า











วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

วิจัย

สรุปงานวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ปริญญานิพนธ์ ของ เชวง     ซ้อนบุญ
เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2554


ความมุ่งหมายของงานวิจัย
          1.เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          4.เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้ในสภาพจริง

ขอบเขตของการวิจัย
          1. กลุ่มนักเรียน ชาย หญิงอายุ 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี
          2. ครูปฐมวัยที่สอนนักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี

ตัวแปรที่ศึกษา
          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการเปรียบเทียบ การจัดประเภท การจับคู่ การเรียงลำดับ การนับ การรู้ค่าจำนวน การวัด และการบอกตำแหน่ง


⧭ สรุปผลการวิจัย ⧭
          
            รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดย รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Math - 3C มีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการ คือ
  • การกระตุ้นความสนใจ ( Motivation )
  • การเรียนรู้แบบปฏิบัติการ ( Active Learning )
  • การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of learning ) 
  • การผสานเป้นหนึ่งเดียวของศีรษะคือสมอง หัวใจ และมือ ( Head Heart Hands )
  • การเล่นสร้างสรรค์ ( Constructive Play )
  • การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ ( Constructive Learning )
  • การเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Learning )
  • และประกอบด้วยกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4 ขั้น คือ      
ขั้นที่ 1 : การกระตุ้นใคร่รู้
ขั้นที่ 2 : การตัดสินใจเลือเล่น
ขั้นที่ 3 : การเล่น
ขั้นที่ 4 : การนำเสนอผลงาน














รูปแบบการสอน

สรุปรูปแบบการสอน การสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด BBLสำหรับเด็กอนุบาล คลิปจาก : สถานีโทรทัศน์การศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC Channal ที่มา :  obe...